วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การรู้สารสนเทศ

ความหมาย
    การรู้สารสนเทศ หมายถึง การรู้ความจำเป็นของสารสนเทศ การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ การจัดระบบประมวลสารสนเทศ การประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิผลและสร้างสรรค์
ความเป็นมา
    การรู้สารสนเทศเป็นคำที่พบในบริบทต่าง ๆทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา  ออสเตรเลีย และประเทศอังกฤษ ซึ่งในประเทศอังกฤษนั้นได้ใช้คำว่า ทักษะสารสนเทศ การรู้สารสนเทศหรือทักษะสารสนเทศเกิดขึ้นในราวต้นคริสต์ศักราช 1974 และได้ใช้คำทั้งสองร่วมกันและบางครั้งได้ใช้ในความหมายเดียวกัน โดยที่การรู้สารสนเทศครอบคลุม ความสามารถในการเข้าถึง การกำหนด การประเมินและการใช้สารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
     -ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ ประกอบด้วยความสามารถทางกายภาพและสติปัญญาในการเข้าถึงสารสนเทศ
    -ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ  ประกอบด้วยความสามารถในการสังเคราะห์หรือตีความสามารถตัดสินใจได้ว่าแหล่งสารสนเทศใดมีความน่าเชื่อถือ
    -ความสามารถในการใช้สารสนเทศ ประกอบด้วยความเข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ
คุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศ
    -ตระหนักถึงความจำเป็นของสารสนเทศ
    -สามารถกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น
    -เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    -ประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้
    -นำสารสนเทศที่คัดสรรแล้วสู่พื้นฐานความรู้เดิม
    -มีประสิทธิภาพในการใช้สารสนเทศได้ตรงตามวัตถุประสงค์
    -เข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและกฏหมายในการใช้สารสนเทศ
    -เข้าถึงและการใช้สารสนเทศได้อย่างมีจริยธรรมและถูกกฏหมาย
    -แบ่งประเภทจัดเก็บและสร้างความเหมาะสมให้กับสารสนเทศที่รวบรวมไว้
    -ตระหนักว่าการรู้สารสนเทศช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศ
    มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
    มาตรฐานที่ 2 ผุ้เรียนประเมินสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ
    มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนให้สารสนเทศอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ การเรียนรู้อย่างอิสระ
    มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ และแสวงหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความสนใจ
    มาตรฐานที่ 5 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล
    มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนที่มีอิสระในการเรียนรู้
    มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคมตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศต่อสังคมประชาธิปไตย
    มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคมและฝึกฝนให้มีพฤติกรรมที่มีจริยธรรม
แนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
   เเนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศมีหลายแนวทาง หากแนวทางที่มีรูปธรรมชัดเจนจากประเทศสหรัฐอเมริกา คือ TheBig 6 Skills Modle ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาชื่อ Mike Eisenberg และ Bog Berkowitz (2001-2006)โดยได้นำไปใช้ตั้งเเต่ระดับอนุบาลถึงระดับอุดมศึกษา เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีการนำไปประยุกต์เพื่อการเรียนการสอนทักษะสารสนเทศในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
ประโยชน์ของการรู้สารสนเทศ
    จากผลการวิจัยการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทย พบว่ารูปแบบการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศ 4 ขั้นตอน คือ กำหนดภารกิจ ตรงจุดเข้าถึงแหล่ง ประเมินผลสารสนเทศ และบูรณาการวิถีการใช้งานได้ถูกนำไปใช้โดยส่วนใหญ่ผู้สอนเริ่มเข้าใจและให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศให้แก่ผู้เรียนของตนและพยายามคิดค้นกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศให้เหมาะสมกับธรรมชาติและบริบทของแต่ละท้องถิ่น

เทคโนโลยีสารสนเทศ

องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
     พื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศสืบเนื่องมาจากการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลัก คือ
     -เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
          คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ และปฏิบัติการตามคำสั่งที่บอกเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้  คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมเรียกว่าฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นึ้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่าซอฟต์แวร์
     -เทคโนโลยีสื่่อสารโทรคมนาคม
          เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกันซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์
วิวัฒนการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศจายุคอนาลอกสู่ยุคดิจิตอลนั้นมีความเป็นมาที่ยาวนานมากกว่าที่จะมาเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนึ้  บางช่วงใช้เวลาในการค้นคิดนานเป็นพันปีโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงบางช่วงก็เร็วมาก
    การวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีแบ่งเป็น 2 ด้านที่ควบคู่กันมา คือ วิวัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์และวิวัฒนาการทางด้านการสื่อสาร

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การจัดการสารสนเทศ

ความหมายการจัดการสารสนเทศ
     การจัดการสารสนเทศ หมายถึง  การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหาและเผยแพร่สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ
ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศ
     การจัดการสารสนเทศในภาวะที่สังคมมีสารสนเทศเกิดขึ้นมากมายโดยการจัดเป็นระบบสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อการใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ
     -ความสำของการจัดการสารสนเทศต่อบุคคล
          การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน  การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่าง ๆ
     -ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ
          การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์การในด้านการบริหารจัดการ  การดำเนินงาน     และกฏหมาย
พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศ
     การจัดการสารสนเทศก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำมาเป็นระยะเวลายาวนานนับแต่รู้จักผู้คิดค้นการขีดเขียยน บันทึกข้อมูล  การจัดการสารสนเทศโดยทั่วไปแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น 2 ยุค เป็นการจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ   และการจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ
    การจัดการสารสนเทศในอดีตมักมุ่งที่การจัดเก็บสารสนเทศเพื่อการเรียกใช้อย่างง่าย เป็นการจัดเก็บจัดเรียงตามประเภทสื่อที่ใช้บันทึกหรือตามขนาดใหญ่เล็กของเอกสารรูปเล่มเป็นต้น  การจัดการสารสนเทศเป็นทั้งการจัดการการผลิต  รวบรวม จัดเก็บ และการค้นเพื่อใช้ได้อย่างสะดวกมีระบบที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
     -ขอบเขตของการจัดการสารสนเทศ
          เป็นการใช้หลักของการจัดการเพื่อการจัดหา  การจัดโครงสร้างการควบคุม การเผยแพร่และการใช้สารสนเทศดำเนินตามขั้นตอนหรือกระบวนการที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
     ความต้องการที่จะปรับปรุงการจัดการสารสนเทศเป็นที่สนใจในหลาย ๆ องค์กรโดยอาจถูกผลักดันจากหลากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นความต้องการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทางธุรกิจ การปรับปรุงเพื่อให้ถูกต้องตามกฏระเบียบที่วางไว้รวมถึงความต้องการที่จะเปิดใช้บริการใหม่ ๆ ในหลายกรณี

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทบาทสารสนเทศกับสังคม

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีิวิตในสังคมปัจจุบัน
     ในภาวะปัจจุบันสารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ห้าที่มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดำรงชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจ  ในการผลิตสินค้าและบริการ  การบริหารการปกครองหรือจนถึงเรื่องเบา ๆ เรื่องไร้สาระ เป็นต้น
ดังนั้นสารสนเทศจึงมีหลากหลายรูปแบบและมีความสำคัญกับมนุษย์เป็นอย่างมาก
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม
     เทคโนโลยีสารสนเทศจัดว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการจัดให้บริการสังคมพื้นฐาน
     เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลกระทบต่อสังคมมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะเลือกใช้มันอย่างไรซึ่งในปัจจุบันมีการเปลี่ยนโฉมของเทคโนโลยีสารสนเทศไปมาก
สารสนเทศกับบุคคล
     การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่มมากขึ้นซึ่งมีการใช้สารสนเทศเพื่อทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจเรื่องที่ตนเกี่ยวข้องและนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
สารสนเทศกับสังคม
     -ด้านการศึกษา
           การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าด้วยตนเองส่งผลให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา
     -ด้านสังคม
          สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
     -ด้านเศรษฐกิจ
          สารสนเทศมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้
     -ด้านวัฒนธรรม
          สารสนเทศเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอารยธรรม   สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยม  ทัศนคติ  ศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ
บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
     ขณะนี้เกือบทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพประชาชนโดยเน้นที่การศึกษาโดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศบมาใช้และเน้นการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้เป็นระบบกลางที่มีราคาถูกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

ความหมาย
           สารสนเทศหรือสารนิเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงที่ผ่านการประมวลผลและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
ความสำคัญ
          สารสนเทศเป็นปัจจัยที่สำคัญในโลกปัจจุบัน การกำหนดแนวทางการพัฒนา นโยบายทางด้านการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สังคมและวัฒนธรรมซึ่งสารสนเทศเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาด้านต่าง ๆ
ประเภทของสารสนเทศ
        1.  สารสนเทศจำนนกตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวม
                -แหล่งปฐมภูมิ คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง
               -แหล่งทุติยภูมิ คือ สารสนเทศที่รวบรวมขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ
               -แหล่งตติยภูมิ คือ สารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ
        2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้แก่  กระดาษ  วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์  และสื่อแสง
คุณสมบัติของสารสนเทศ
     1.สามารถเข้าถึงได้ง่าย
     2.มีความถูกต้อง
     3.มีความครบถ้วน
     4.ความเหมาะสม
     5.ความทันต่อเวลา
     6.ความชัดเจน
     7.ความยืดหยุ่น
     8.ความสามารถในการพิสูจน์ได้
     9.ความซ้ำซ้อน
    10.ความไม่ลำเอียง
แหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
     1.แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน คือ สถานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อจัดหารวบรวมวัสดุสารสนเทศชนิดต่าง ๆ
     2.แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริงซึ่งผู้ใช้สามารถหาความรู้จากสถานที่นั้นได้
     3.แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ
     4.แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่ กิจกรรมต่าง ๆที่เกิดขึ้น
     5.แหล่งสารสนเทศสื่่อมวลชน ซึ่งเป็นแหล่งที่มุ่งเผยแพร่สารสนเทศ ที่เป็นเหตุการณ์ ข่าวสาร
     6.แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเตอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ทรัพยากรสารสนเทศ
     1.ทรัพยากรตีพิมพ์  เป็นสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นเเผ่นหรือรูปเล่มที่ตีพิมพ์ในกระดาษ มีขนาดต่าง ๆและมีหลากหลายรูปแบบ เช่น หนังสือ  วารสาร  หนังสือพิมพ์ จุลสาร  และกฤตภาค
     2.ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ คือ ทรัพยากรสารสนเทศที่มีลักษณะสำคัญ ที่แตกต่างจากทรัพยการตีพิมพ์ ที่ให้สารสนเทศความรู้ผ่านประสาทสัมผัสทางหู  ตา ด้วยการดูและการฟังทำให้สื่อความหมายเข้าใจง่าย เช่น ทัศนวัสดุ  โสตวัสดุ  โสตทัศนวัสดุ
    3.สื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือการจัดเก็บสารสนเทศที่อยู่ในรูปของดิจิทัล ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์นั่นเอง ได้แก่ ฐานข้อมูลออฟไลน์  ฐานข้อมูลออนไลน์

แบบฝึกหัด

1.ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่างๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ 3 รายการ
    1.1การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
         -การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
         -ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
         -ระบบสารสนเทศเอกสาร
    1.2การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ
         -ระบบสารสนเทศในงานตรวจสอบรายได้ประจำวัน
         -ระบบสารสนเทศในงานสรุปรายได้ประจำวัน
         -ระบบสารสนเทศในงานลูกหนี้
    1.3การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางการแพทย์
         -การลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร  จ่ายยา  เก็บเงิน
         -สามารถให้คำปรึกษาทางไกลโดยแพทย์ผู้ชำนาญ
         -ช่วยในการให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์หรือหน่วยงานสาธารณสุข
2.มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่านมีอะไรบ้าง
      1.1การให้บริการทางด้านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการศึกษา
      1.2การลงทะเบียนเรียน
      1.3แหล่งค้นคว้าข้อมูลต่างด้านต่าง ๆ เช่น ห้องคอมพิวเตอร์  ห้องสมุด
3.จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นมาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไร
      1.1ค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ ที่เราสนใจที่จะศึกษา
      1.2ใช้ในการเรียน การลงทะเบียนเรียน
      1.3ใช้ในการทำงานหรือเป็นที่ติดต่อกับบุคคลอื่น

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555